นาทีนี้ถ้าไม่พูดถึงอัฟกานิสถานถือว่าเอ้าท์ แต่แม่หมีควายขอข้ามเรื่องสงครามและตาลีบันไปล่ะนะ มาพูดเรื่องสมบัติที่เหลือรอดในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติคาบูลกันดีกว่า ว่ากันว่าเดิมมีมากกว่า 20000 ชิ้น หลังสงครามเหลืออยู่แค่ไม่ถึงสามร้อยชิ้น สมบัติทางอารยธรรมแห่งมวลมนุษยชาติที่สูญหายไปตลอดกาล เศร้าเลยค่ะ
.
แล้วชิ้นเด็ดๆ ที่เห็นในรูปรอดมาได้ยังไงล่ะ? อ่านแล้วยังกับฉากในหนังฮอลลีวู๊ด เค้าบอกว่าตอนเกิดสงครามกลางเมืองครั้งแรก ทางการเห็นท่าจะต้านตาลีบันไม่ไหวก็เลยขนย้ายสมบัติล้ำค่าพวกนี้ไปอยู่ในห้องนิรภัยใต้ธนาคารชาติ ที่มีวิธีรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา มีบุคคลภายนอกถือกุญแจต่างกัน 7 ดอก ต้องมาไขด้วยกัน ผนังก็หนาราว 1 เมตร เจาะไม่เข้า ว่ากันว่าอีธาน ฮันท์ จากมิชชั่น อิมพอสซิเบิลมาเองยังเข้าไม่ได้😳
.
เมื่อตาลีบันมีชัยชนะในปี 1996 ได้บังคับให้ ปธด นาจิบ บุลลาห์บอกที่ซ่อนสมบัติ แต่ท่านไม่บอกเลยถูกฆ่า นี่แหละค่ะ ชิ้นงามๆเลยยังเหลือให้เรามาชื่นชมมั่ง ส่วนที่เหลือ เมื่อพี่ตาลีบันแกบุก พี่เค้าทั้งขโมยทั้งทำลาย โดยเฉพาะชิ้นไหนที่เป็น pre- islamic ไม่ใช่อิสลามเนี่ยไม่มีเหลือ ว่ากันว่าบางส่วนโซเวียตก็ขนไป
.
สมบัติล้ำค่าพวกนี้เป็นประจักษ์พยานว่าดั้งเดิมอัฟกานิสถานไม่ได้เป็นดินแดนที่ยากจน แต่อุดมด้วยแร่ เช่น ลาปิซลาซูรี่ ซึ่งค้นพบเฉพาะที่นี่และสมัยโบราณนิยมกันมาก ยังมีทองคำ การ์เนต คาร์เนเลี่ยนสารพัด และดินแดนแห่งนี้ซึ่งอยู่เอเชียกลางยังเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมที่รวมเอาวัฒนธรรมหลากหลายชนชาติ มาดูกันดีกว่าว่านักโบราณคดีขุดเจออะไร ช่วงไหนบ้าง เอาสั้นๆละกันค่ะ เลื่อนดูแต่ละรูปเลยค่ะ
.
แต่ก็ยังดีที่สมบัติยังเหลือรอดมาให้ขุดเจอได้ล่ะนะ เพราะดินแดนแถบนี้ตั้งแต่ยุคอารยธรรมสินธุก็เจอแต่ศึกหนักทั้งต้อนรับการมาเยือนของพวกอารยัน กรีก โรมัน ฮั่น เติร์ค เจงกิสข่าน บรรดา warlord อีกหลายเผ่า จนมาถึงยุคตาลีบัน ซึ่งตอนนี้เค้าให้คำมั่นสัญญากับประชาคมโลก ว่าจะทำตัวอบอุ่นเป็นมิตร ใกล้ชิดประชาชน เรามาดูกันว่าตาลีบันยุครีแบรนด์จะรักษาสมบัติของชาติไว้ได้จริงหรือไม่นะคะ
ช่วง 2100 ปี ก่อนคริสตกาล (Tepe Fullo) หรือยุคอารยธรรมสินธุ ช่วงนี้ผู้คนเพิ่งอพยพมาตั้งรกรากแถวหุบเขาฮินดูกูซ แหล่งแร่เลยค่ะ ก็จะขุดเจอลูกปัดสวยๆ ของใช้ทำจากบรอนซ์
ช่วงอาณานิคมกรีก Al kanum แปลได้อย่างน่ารักว่า lady moon เป็นช่วงที่อเล็กซานเดอร์มหาราชมายึดครองดินแดนแถบนี้อยู่ราว 200 ปี สมบัติชิ้นเด็ดๆ ที่ขุดเจอจะแสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะกรีกที่มีต่อพุทธศาสนาที่ถูกนำไปเผยแพร่ในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช และก็จะมีงานที่แสดงให้เห็นการผสมผสานระหว่างศิลปะกรีกกับพื้นเมือง
.
ในรูป คือ cebele plaque แผ่นบรอนซ์ปิดทองสลักเทพี cebele บนรถม้าศึกแบบกรีก
ช่วง 145 ปี ก่อนคริสตกาล ช่วงนี้เจอแต่ของสวยๆ ที่ขุดเจอแถว Tillya tepe หรือหุบเขาแห่งพระเจ้า เป็นที่ฝังศพของหัวหน้าเผ่าเร่ร่อนพร้อมฝ่ายหญิงอีก 5 ร่าง สมบัติที่พบแสดงว่าท่านหัวหน้ารวยไม่ธรรมดาเลย นักโบราณคดีขุดเจอเครื่องประดับทองที่เรียกว่าทองแบคเทอเรียน มีการออกแบบสวยงามมาก เป็นการผสมผสานศิลปะทั้งกรีก โรมัน จีน อินเดีย พื้นเมือง แสดงว่ามีการติดต่อค้าขาย ปฎิสัมพันธ์กันจนรวยอู้ฟู่
.
ในรูป มงกุฏทองแบคเทอเรียน
จี้ไว้ห้อยข้างศรีษะสองข้าง ชิ้นนี้ได้รับการซ่อมแซมโดยบริติช มิวเซียม
ศิลปะ pre islamic
หนึ่งในสมบัติที่พยในสุสานโบราณ 6 แห่ง ในปี 1978 ช่วงกบฎมูจาฮิดีนกำลังฮึ่มๆกับโซเวียต การขุดเลยขุดไปหยุดไป
תגובות